วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ประเภทของหน่วยความจำสำรอง

อุปกรณ์ สื่อบันทึกข้อมูลและเทคโนโลยีบันทึกข้อมูล
1.Floppy Disk
         แผ่นดิสก์แบบอ่อน หรือ ฟลอปปีดิสก์ หรือที่นิยมเรียกว่า แผ่นดิสก์ หรือ ดิสเกตต์ เป็น    อุปกรณ์เก็บข้อมูล ที่อาศัยหลักการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็ก โดยทั่วไปมีลักษณะบางกลมและบรรจุอยู่ในแผ่นพลาสติกสี่เหลี่ยม คอมพิวเตอร์สามารถอ่านและเขียนข้อมูลลงบนฟลอปปีดิสก์ ผ่านทางฟลอปปีดิสก์ไดร์ฟ (floppy disk drive)
 
ภาพที่ 1.68 แผ่น Floppy Disk ขนาด 3.5 นิ้ว และ 5.25 นิ้ว
         ฟลอปปี้ดิสก์เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ถือได้ว่าอยู่ยั่งยืนมานานแสนนานและยังคงใช้กันอยู่จนถึงทุกวันนี้ ในอดีตฟลอปปี้ดิสก์จะมีขนาด 5.25 นิ้ว ซึ่งเป็นแผ่นใหญ่บรรจุข้อมูลได้ 1.2 เมกะไบต์จะบรรจุได้น้อยกว่าฟลอปปี้ดิสก์รุ่นใหม่ขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งจะบรรจุข้อมูลได้มากกว่า 1.44 เมกะไบต์ในขนาดของแผ่นที่เล็กกว่า 
1.1 ระบบการทำงานของฟลอปปี้ดิสก์
         กลไกการทำงานของฟลอปปี้ดิสก์จะค่อนข้างง่ายเมื่อเทียบกับฮาร์ดดิสก์ โดยตัวจานหมุนจะเป็นวัสดุที่อ่อนนิ่ม เช่น ไมลาร์ (Mylar) ที่เป็นพลาสติกสังเคราะห์เคลือบสารแม่เหล็กเอาไว้ ในดิสก์ 1 แผ่นจะมีจานเดียว หัวอ่านจะเลื่อนเข้าไปอ่านข้อมูลและจะสัมผัสกับแผ่นดิสก์โดยตรง ทำให้แผ่นมีการสึกหรอได้ง่าย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลจะมีการส่งสัญญาณไปเปลี่ยนแปลงค่าสนามแม่เหล็กที่หัวอ่าน เมื่อตัวไดรว์ของดิสก์อ่านข้อมูลได้แล้วจะทำการส่งต่อให้กับคอนโทรลเลอร์ควบคุมแบบอนุกรมทีละบิตต่อเนื่องกัน ขณะที่ฟลอปปี้ไดรว์ทำงาน อุปกรณ์อื่น ๆ ต้องหยุดรอ ทำให้การทำงานของระบบเกือบจะหยุดชะงักไป ที่มุมด้านหนึ่งของฟลอปปี้ดิสก์จะมีกลไกป้องกันการเขียนทับข้อมูล (write-protect) หากเป็นแผ่น 5.25 นิ้ว จะเป็นรอยบากซึ่งหากปิดรอยนี้จะไม่สามารถเขียนข้อมูลได้ ต่างกับ ดิสก์ 3.5 นิ้ว ที่จะเป็นสลักพลาสติกเลื่อนไปมา หากเลื่อนเปิดเป็นช่องจะบันทึกไม่ได้
ภาพที่ 1.69 แผ่น Floppy Disk ขนาด 3.5 นิ้ว
ภาพที่ 1.70 แผ่น Floppy Disk ขนาด 5.25 นิ้ว
1.2 ความจุของฟลอปปี้ดิสก์แบบต่าง ๆ
ขนาด
แบบที่เรียกว่า
ด้านที่บันทึก
ความจุข้อมูล
5.2นิ้วSingle sided-Double Density
1
160/180 KB
5.2นิ้วDouble sided-Double Density
2
320/360 KB
5.2นิ้วHD(High Density)
2
1.2 MB
3.5 นิ้วDouble sided-Single Density
2
720 KB
3.5 นิ้วDouble sided-High Density
2
1.44 MB
3.5 นิ้วDouble sided-Quad Density
2
2.88 MB
3.5 นิ้วFloptical Disk
2
120 MB
2.Harddisk
               ฮาร์ดดิสก์ หรือ จานบันทึกแบบแข็ง (Hard disk) คืออุปกรณ์บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน     มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับมาเธอร์บอร์ด ( motherboard ) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน ( PATA ) แบบอนุกรม ( SATA ) และแบบเล็ก ( SCSI ) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบีสายไฟร์ไวร์ของบริษัท Apple ที่เป็นที่รู้จักน้อยกว่า รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก ( eSATA ) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็นของตนเอง ความจุของฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปในปัจจุบันนั้นมีตั้งแต่ 20 ถึง 250 กิกะไบต์ ยิ่งมีความจุมาก ก็จะยิ่งทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ภาพที่ 1.71 ฮาร์ดดิสก์
ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์ 
          ฮาร์ดดิสก์ประกอบไปด้วยส่วนประกอบมากมายซึ่งต่อกันด้วยระบบกลไกทางจักรกล ผิดกับส่วนประกอบอื่นๆที่มีแต่ชิปอิเล็กทรอนิกต่อกันบนแผ่นวงจรไฟฟ้า ฮาร์ดดิสก์ทำมาจากแผ่นจานเหล็กกลมๆที่เคลือบสารแม่เหล็ก ไว้สำหับเก็บข้อมูล 
( platter ) ซ้อนกันหลายๆชั้น ขึ้นอยู่กับความจุ โดยจานแม่เหล็กนี้จะติดกับมอเตอร์ที่ทำหน้าที่หมุนแผ่นจานเหล็กนี้ โดยจะมีแขนที่มีหัวอ่านข้อมูล ติดอยู่ตรงปลาย (Actuator) ทำหน้าที่อ่านข้อมูลจากจานเหล็ก ที่หมุนอยู่ด้วยความเร็วคงที่ ซึ่งความเร็วที่ว่านี้เราจะเรียกว่า "ความเร็วรอบ"
1. แขนของหัวอ่าน (Actuator Arm) ทำงานร่วมกับ Stepping Motor ในการหมุนแขนของหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม สำหรับการอ่านเขียนข้อมูล โดยมีคอนโทรลเลอร์ ( Controller ) ทำหน้าที่แปลคำสั่งที่มาจากคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็เลื่อนหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่ต้องการ เพื่ออ่านหรือเขียนข้อมูล และใช้หัวอ่านในการอ่านข้อมูล แต่ต่อมา Stepping Motor ได้ถูกแทนด้วย Voice Coil ที่สามารถทำงานได้เร็ว และแม่นยำกว่าStepping Motor
2 . หัวอ่าน (Head) เป็นส่วนที่ใช้ในการอ่านเขียนข้อมูล มีขนาดเล็กและมีความซับซ้อน จึงมีราคาแพง ภายในหัวอ่านมีลักษณะเป็น ขดลวด โดยในการอ่านเขียนข้อมูลคอนโทรลเลอร์(Controller)จะนำคำสั่งที่ได้รับมาแปลงเป็นแรงดันไฟฟ้าแล้วป้อนเข้าสู่ขดลวดทำให้เกิดการเหนี่ยวนำทางแม่เหล็ก ไปเปลี่ยนโครงสร้างของสารแม่เหล็ก ที่ฉาบบนแผ่นดิสก์ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลขึ้น
3. แผ่นจานแม่เหล็ก (Platters) จะมีลักษณะเป็นจานเหล็กกลมๆ ที่เคลือบสารแม่เหล็กวางซ้อนกันหลายๆชั้น (ขึ้นอยู่กับความจุและสารแม่เหล็กที่ว่าจะถูกเหนี่ยวนำให้มีสภาวะเป็น และเพื่อจัดเก็บข้อมูล โดยจานแม่เหล็กนี้จะติดกับมอเตอร์ ที่ทำหน้าที่หมุน แผ่นจานเหล็กนี้ ปกติฮาร์ดดิสก์แต่ละตัวจะมีแผ่นดิสก์ประมาณ 1-4 แผ่นแต่ละแผ่นก็จะเก็บข้อมูลได้ทั้ง ด้าน
4. มอเตอร์หมุนจานแม่เหล็ก (Spindle Moter) เป็นมอเตอร์ที่ใช้หมุนของแผ่นแม่เหล็ก ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อความเร็วใน การหมุน ของฮาร์ดดิสก์ เพราะยิ่งมอเตอร์หมุนเร็วหัวอ่านก็จะเจอข้อมูลที่ต้องการเร็วขึ้น ซึ่งความเร็วที่ว่านี้จะวัดกันเป็นรอบต่อนาที ( Rovolution Per Minute หรือย่อว่า RPM ) ถ้าเป็นฮาร์ดดิสก์รุ่นเก่าจะหมุนด้วยความเร็วเพียง 3,600รอบต่อนาที ต่อมาพัฒนาเป็น 7,200รอบต่อนาที และปัจจุบันหมุนได้เร็วถึง 10,000รอบต่อนาที การพัฒนาให้ฮาร์ดดิสก์หมุนเร็วจะได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น
5. เคส (Case) มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม ใช้บรรจุกลไกต่างๆ ภายในแผ่นดิสก์เพื่อป้องกันความเสียหาย ที่เกิดจากการหยิบ จับ และป้องกันฝุ่นละออง
ภาพที่ 1.72 ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์
2.1ประวัติของฮาร์ดดิสก์
ฮาร์ดดิสก์นั้นถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2499 (1956) โดยนักประดิษฐ์ยุคบุกเบิกแห่งบริษัทไอบีเอ็ม เรย์โนล์ด จอห์นสัน ซึ่งในขณะนั้น ฮาร์ดดิสก์มีขนาดค่อนข้างใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 20 นิ้ว มีความจุเพียงระดับเมกะไบต์เท่านั้น  (เทียบกับระดับกิกะไบต์ในปัจจุบัน ซึ่ง 1,000MB = 1GB ) ตอนแรกใช้ชื่อว่า ฟิกส์ดิสก์ ( fixed disk หรือจานบันทึกที่ติดอยู่กับที่ ) หรือ วินเชสเตอร์       ( Winchesters ) ซึ่งเป็นชื่อที่ IBM เรียกผลิตภัณฑ์ของพวกเขา ต่อมาภายหลังจึงเรียกว่า ฮาร์ดดิสก์      ( จานบันทึกแบบแข็ง ) เพื่อจำแนกประเภทออกจาก ฟลอปปี้ดิสก์ ( จานบันทึกแบบอ่อน )
2.2 การควบคุมฮาร์ดดิสก์
Hard Disk จะสามารถทำงานได้ต้องมีการควบคุมจาก CPU โดยจะมีการส่งสัญญาณการใช้งานไปยัง Controller Card ซึ่ง Controller Card แบ่งออกได้ประมาณ 5 ชนิด ซึ่งจะกล่าวถึงเพียง 3 ชนิดที่ยังคงมีและใช้อยู่ในปัจจุบัน
2.2.1 IDE (Integrated Drive Electronics)
ฮาร์ดดิสก์แบบ IDEเป็นมาตรฐานที่ไดรับความนิยมอย่างสูง แต่ก็ยังมีความจุของข้อมูลและความเร็วในการทำงานเทียบกับฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI ไม่ได้ แต่ด้วยการพัฒนาที่รวดเร็วและต่อเนื่องกว่า จึงทำให้ฮาร์ดดิสก์แบบ IDE มีความจุและความเร็ว๘ยับเข้าใกล้ฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI  มากขึ้นทุกที
ภาพที่ 1.73 ฮาร์ดดิสค์ IDE 
2.2.2 SCSI (Small Computer System Interface)
เหมาะที่จะใช้สำหรับเครื่องประเภทเครื่องแม่ข่าย  (Server )  มากกว่าเครื่องที่ใช้ตามบ้านเนื่องจากมีราคาแพงและการติดตั้งที่ยุ่งยากกว่า เพราะจะต้องมีการติดตั้งการ์ดควบคุมเพิ่มเติม 


ภาพที่ 1.74 ฮาร์ดดิสค์ SCSI 
2.2.3 Serial ATA (Advanced Technology Attachment) หรือ SATA
Serial ATA มีความเร็วในเข้าถึงข้อมูลถึง 150 Mbytes ต่อ วินาที และให้ผลตอบสนองในการทำงานได้เร็วมากในส่วนของ extreme application เช่น Game Home Video และ Home Network Hub มีจำนวน pin น้อยกว่า Parallel ATA
ภาพที่ 1.75 ฮาร์ดดิสค์ SATA
3. CD-ROM Drive
 แผ่นซีดีรอมเป็นสื่อในการเก็บข้อมูลแบบออปติคอล (Optical Storage) ใช้ลำแสงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูล แผ่นซีดีรอม ทำมาจากแผ่นพลาสติกเคลือบด้วยอลูมิเนียม เพื่อสะท้อนแสงเลเซอร์ที่ยิงมา เมื่อแสงเลเซอร์ที่ยิงมาสะท้อนกลับไป ที่ตัวอ่านข้อมูลที่เรียกว่า Photo Detector ก็อ่านข้อมูลที่ได้รับกลับมาว่าเป็นอะไร และส่งค่า 0 และ 1 ไปให้กลับซีพียู เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป
ภาพที่ 1.76 CD-ROM Drive
ความเร็วของไดรว์ซีดีรอม มีหลายความเร็ว เช่น 2x 4x หรือ 16x เป็นต้น ซึ่งค่า 2x หมายถึงไดรว์ซีดีรอมมี ความเร็วในการหมุน 2 เท่า ไดรว์ตัวแรกที่เกิดขึ้นมามีความเร็ว 1x จะมีอัตราในการโอนถ่ายข้อมูล (Data Tranfer Rate) 150 KB ต่อวินาที ส่วนไดรว์ที่มีความเร็วสูงกว่านี้ ก็จะมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลมากขึ้น
ภาพที่ 1.77 ส่วนประกอบของ CD-ROM Drive
3.1 การทำงานของ CD-ROM
ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรว์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกหรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก แลนด์ สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก พิต ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ และ แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด และ ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น  
3.2 ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล (Access Time)
         ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลคือ ช่วงระยะเวลาที่ไดรว์ซีดีรอมสามารถอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม แล้วส่งไป ประมวลผล หน่วยที่ใช้วัดความเร็วนี้คือ มิลลิวินาที (milliSecond) หรือ msปกติแล้วความเร็วมาตรฐานที่ เป็นของไดรว์ซีดีรอม 4x ก็คือ 200 ms แต่ตัวเลขนี้จะเป็นตัวเลขเฉลี่ยเท่านั้น เป็นไปไม่ได้แน่นอนว่าไดรว์ ซีดีรอมจะมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลบนแผ่นซีดีรอมเท่ากันทั้งหมด เพราะว่าความเร็วที่แท้จริงนั้นจะขึ้นอยู่ กับว่าข้อมูลที่กำลังอ่าน อยู่ในตำแหน่งไหนบนแผ่นซีดี ถ้าข้อมูลอยู่ในตำแหน่งด้านใน หรือวงในของแผ่นซีดี ก็จะมีความเร็วในการเข้าถึงสูง แต่ถ้าข้อมูลอยู่ด้านนอกหรือวงนอกของแผ่น ก็จะทำให้ความเร็วลดลงไป
3.3 แคชและบัฟเฟอร์
          ไดรว์ซีดีรอมรุ่นใหม่ๆ มักจะมีหน่วยความจำที่เรียกว่าแคชหรือบัฟเฟอร์ติดตั้งมาบนบอร์ดของซีดีรอมไดรว์ มาด้วย แคชหรือบัฟเฟอร์ที่ว่านี้ก็คือชิปหน่วยความจำธรรมดาที่ติดตั้งไว้เพื่อเก็บข้อมูลชั่วคราวก่อนที่จะส่ง ข้อมูลไปประมวลผลต่อไป เพื่อช่วยเพิ่มความเร็วในการอ่านข้อมูลจากไดรว์ซีดีรอม ซึ่งแคชนี้มีหน้าที่เหมือน กับแคชในฮาร์ดดิสก์ที่จะช่วยประหยัดเวลา ในการอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดี เพราะถ้าข้อมูลที่ร้องขอมามีอยู่ ในแคชแล้ว ก็ไม่ต้องเสียเวลาไปอ่านข้อมูลจากแผ่นอีก ขนาดของแคชในไดรว์ซีดีรอมทั่วๆ ไปก็คือ 256 กิโลไบต์ ซึ่งถ้ายิ่งมีแคชที่มีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งช่วยเพิ่มความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูล ให้สูงขึ้นไปอีก
          ข้อดีของการติดตั้งแคชลงไปในไดรว์ซีดีรอมก็คือ แคชจะช่วยให้สามารถรับ-ส่งข้อมูล ได้ด้วยความเร็ว สม่ำเสมอ เมื่อแอพพลิเคชั่นร้องขอข้อมูล มายังไดรว์ซีดีรอม แทนที่จะต้องไปอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดี ซึ่งมี ความเร็วต่ำ ก็สามารถอ่านข้อมูล ที่ต้องการจากแคช ที่มีความเร็วมากกว่าแทนได้ ยิ่งมีแคชจำนวนมากแล้วก็ สามารถที่จะเก็บข้อมูลมาไว้ในแคชได้เยอะขึ้น ทำให้เสียเวลาอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีน้อยลง
3.4 อินเตอร์เฟซของไดรว์ซีดีรอม
         อินเตอร์เฟซของไดรว์ซีดีรอมมีอยู่ 2 ชนิดคือ IDE ซึ่งมีราคาถูก มีความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลอยู่ในขั้น ที่ยอมรับได้ และชนิด SCSI มีราคาแพงกว่าแบบ IDE แต่ก็จะมีความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลสูงขึ้นด้วย เหมาะสำหรับนำมาใช้เป็นซีดีเซิร์ฟเวอร์ เพราะต้องการความเร็ว และความแน่นอนในการส่งถ่ายข้อมูลมากกว่า
ไดรว์ซีดีรอมจะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบติดตั้งภายใน และแบบติดตั้งภายนอก แบบติดตั้งภายในมีข้อดีคือ ประหยัดพื้นที่ในการวางซีดีรอมไดรว์และไม่ต้องใช้อินเตอร์เฟตเพื่อจ่ายไฟให้กับไดรว์ซีดีรอม และที่สำคัญมีราคาถูกกว่าแบบติดตั้งภายนอก แบบติดตั้งภายนอกมีข้อดีคือ สามารถพกพาไปใช้กับ เครื่องอื่นได้สะดวก
ชนิดของ CD-ROM
                 3.1.1 ชนิดที่อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว  เป็น CD-ROM Drive ยุคเริ่มแรก ที่สามารถอ่านแผ่น CD ได้อย่างเดียว  ซีดีรอมไดรว์จะมีการบอกเสปคเป็น ”x” เดี่ยวๆ เช่น 48 x หรือ52 x ก็จะหมายถึงอ่านข้อมูลได้ที่ความเร็ว 48x และ 52 x ตามลำดับ ถ้าหากจะเขียนจะต้องติดตั้ง CD Recordable Drive อีกเครื่อง
                    3.1.2 ชนิดที่สามารถอ่านและเขียนบันทึกข้อมูลได้  ซีดีอาร์ไดรว์
CD-R Drive ย่อมาจาก CD Recordable Drive ซึ่งนอกจากจะอ่านแผ่นซีดีแล้วยังสามารถเขียนบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีอาร์ CD-R : CD-Recordable ที่เป็นแผ่นซีดีแบบบันทึกข้อมูลอย่างเดียวได้อีกด้วยโดยจะมีการแบ่งสเปคไว้ 2ตัว เช่น 4x24 หมายถึงเขียนข้อมูลได้ที่ 4 x ละอ่านข้อมูลได้ที่ 24x เป็นต้น
                  3.1.3 ชนิดที่สามารถอ่านบันทึกข้อมูลและลบข้อมูลได้  ซีดีอาร์ดับบลิวไดรว์ CD-RW Drive  ย่อมาจาก CD-ReWritable Drive  ที่สามารถอ่านและบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีอาร์ CD-R อีกทั้งยังเขียนและลบข้อมูลจากแผ่นซีดีอาร์ดับบลิวCD-RW ที่สามารถเขียน และลบข้อมูลได้ เหมือนฮาร์ดดิสก์อีกด้วยซึ่งจะแบ่งสเปคออกเป็น 3 ตัว เช่น12x 12x32xสามารถเขียน CD-R ได้ที่ความเร็ง 12x เขียน CD-RW ได้ที่ความเร็ว 12xและอ่านข้อมูลได้ที่ 32x
4. DVD-ROM Drive
     ดีวีดี (DVD; Digital Versatile Disc) เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง (optical disc)ที่ใช้บันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ โดยให้คุณภาพของภาพและเสียงที่ดี ดีวีดีถูกพัฒนามาใช้แทนซีดีรอม โดยใช้แผ่นที่มีขนาดเดียวกัน ( เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร ) แต่ว่าใช้การบันทึกข้อมูลที่แตกต่างกัน และความละเอียดในการบันทึกที่หนาแน่นกว่า เดิมทีดีวีดีมาจากชื่อย่อว่า digital video disc แต่ในภายหลังผู้ผลิตบางรายเห็นว่าควรเปลี่ยนชื่อเป็น digital versatile disc ปัจจุบันตามคำนิยามอย่างเป็นทางการแล้ว DVD ไม่ได้ย่อมาจากชื่อเต็มแต่อย่างใด เครื่องเขียนแผ่นดีวีดี ( DVD Writer ) คือ เครื่องสำหรับการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นดีวีดี
ภาพที่ 1.78 DVD-ROM Drive
         4.1คุณสมบัติของดีวีดี
                      4.1.1 สามารถบันทึกข้อมูลวิดีโอที่ความละเอียดสูงได้ถึง 133 นาที
                      4.1.2 การบีบอัดของวิดีโอในรูปแบบ MPEG-2 นั้นมีอัตราส่วนอยู่ที่ 4 : 0 : 1
                      4.1.3 สามารถมีเสียงในฟิล์มได้มากถึง 8 ภาษา โดยในแต่ละภาษาอาจจะเป็นระบบเสียงสเตอริโอ 2.0 ช่อง (รูปแบบ PCM) หรือ ระบบเสียงรอบทิศทาง (เช่น 4.0, 5.1, 6.1 ช่อง) ในรูปแบบ Dolby Digital (AC-3) หรือ Digital Theater System (DTS)
                      4.1.4 มีคำบรรยาย (Subtitle) ได้มากสูงสุดถึง 32 ภาษา
                      4.1.5 ภาพยนตร์ดีวีดีบางแผ่นนั้น สามารถเปลี่ยนมุมกล้องได้ด้วย (Multiangle)
                      4.1.6 สามารถทำภาพนิ่งได้สมบูรณ์เหมือนภาพสไลด์
                      4.1.7 ควบคุมระดับสิทธิการเล่น (Parental Lock)
                      4.1.8 มีรหัสพื้นที่ใช้งานเฉพาะพื้นที่กำหนด (Regional Codes)
         4.2 ชนิดของแผ่นดีวีดีที่ใช้บันทึกนั้นมีอยู่ 6 ชนิด คือ
                 4.2.1 DVD-R  (DVD-Recordable) เป็นแผ่นที่สามารถบันทึกข้อมูลได้หลายครั้ง (Multi Section) จนกว่าจะเต็มแผ่น โดยสามารถบันทึกข้อมูลใหม่ต่อจากข้อมูลเก่าไปเรื่อยๆ จนเต็มแผ่น เมื่อบันทึกข้อมูลแล้วไม่สามารถลบหรือบันทึกข้อมูลใหม่ทับบนข้อมูลเดิมที่ บันทึกไปแล้วได้ สามารถบันทึกข้อมูลได้ 4.7 GB

                     
                     ภาพที่ 1.79 แผ่น DVD-R
                      4.2.2 DVD+R   เป็นแผ่นที่สามารถบันทึกข้อมูลได้หลายครั้ง (Multi Section) จนกว่าจะเต็มแผ่น โดยสามารถบันทึกข้อมูลใหม่ต่อจากข้อมูลเก่าไปเรื่อยๆ จนเต็มแผ่น เมื่อบันทึกข้อมูลแล้วไม่สามารถลบหรือบันทึกข้อมูลใหม่ทับบนข้อมูลเดิมที่ บันทึกไปแล้วได้ บันทึกไปแล้วได้ สามารถบันทึกข้อมูลได้ 4.7 GB
                     
                      4.2.3 DVD-RW (DVD-Rewritable) ไม่สามารถทำ Multi Session เช่น ตอนแรกไรท์แค่ 1G แต่จะมาไรท์ต่ออีก 3G ไม่ได้ จะเขียนก็ต้องลบทั้งหมด  (Erase Data) แล้วเรี่มใหม่ และจะเล่นได้กับไดรว์ DVD-R/RWบนเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น   
                     
                     ภาพที่ 1.80 แผ่น DVD-RW 
                      4.2.4 DVD+RW   สามารถทำ Multi Session ได้ (ฟังชันการแบ่งเนื้อที่เป็นส่วนๆ มีให้เลือกใน โปรแกรม Nero หน้าจอสุดท้ายก่อนที่เราจะเบิร์นแผ่น) คือ เขียนต่อได้หรือเขียนข้อมูลเพิ่มได้ภายหลัง เช่น ตอนแรกเราไรท์แค่ 1G แล้วไรท์ต่ออีก 3G ก็ยังได้ (่ตอนไรท์ต้องเปิด Multi Session ด้วย)
                      ข้อดีของ DVD-RW และ DVD+RW คือ สามารถนำกลับมาบันทึกใหม่ ได้กว่า 100,000 ครั้ง แต่ดีวีดีที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบันนี้คือ DVD-R
                    
                     ภาพที่ 1.81 แผ่น DVD+RW 
                      4.2.5 DVD-R DL   เป็นแผ่น DVD ที่เขียนได้ครั้งเดียว แล้วก็เป็นแบบ DL = Dual Layer ก็แปลว่ามันสามารถเขียนได้ความจุมากสุดคือ 8.7 กิกะไบท์ (มักเรียกกันว่า DVD9) ถ้าเป็น Single Layer ก็จะสามารถเขียนได้มากสุด 4.7 กิกะไบท์ (มักเรียกกันว่า DVD5)
                   
                     ภาพที่ 1.82 แผ่น DVD-R DL
                      4.2.6 DVD+R DL เป็นแผ่น DVD ที่สามารถบันทึกข้อมูลได้เพียงด้านเดียว เหมือนกับ DVD 5 แต่จะต่างกันที่มีการเพิ่มชั้น ที่ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลเพิ่มขึ้นภายในหน้านั้นเป็น 2 ชั้นชนิดที่มีการบันทึกข้อมูลแบบหน้าเดียว แต่แบ่งส่วนการบันทึกข้อมูลได้ 2 ชั้น (Dual Layer) สามารถพิมพ์ลวดลายลงบนแผ่นโดยตรงโดยใช้เครื่อง Printer Inkjet มีขนาดความจุ 8.4GB 
                     
                     ภาพที่ 1.83 แผ่น DVD+R DL
                      4.2.7 DVD RAM เป็นดีวีดี การทำงานเข้าถึงข้อมูลในแบบลำดับ เหมือนกับ Hard Disc โดยจะทำการบันทึกจะวางข้อมูลที่อยู่บนแผ่นต่อกันไปเรื่อยๆ จนสิ้นสุดข้อมูลนั้นๆ และการอ่านจะเริ่มต้นจากจุดแรกของข้อมูลนั่นๆ การบันทึกข้อมูลจะต้องเป็นไดร์ฟชนิดพิเศษในการอ่านและเขียนข้อมูล ข้อดีสามารถบันทึกข้อมูลซ้ำไปซ้ำมาได้มากกว่า 100,000 ครั้ง ทำให้ถูกนำไปใช้อุปกรณ์สมัยใหม่มากขึ้นเช่น กล้่องวิดีโอดิจิตอล
                      
                     ภาพที่ 1.84 แผ่น DVD RAM
       4.3 ข้อดีของ DVD-RW และ DVD+RW
 ข้อดีของ DVD-RW และ DVD+RW คือ สามารถนำกลับมาบันทึกใหม่ ได้กว่า 100,000 ครั้ง แต่ดีวีดีที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบันนี้คือ DVD-R ในการบันทึก DVD แต่ละชนิดนั้นไม่สามารถใช้งานข้ามชนิดได้ คือ ไม่สามารถใช้งานข้ามไดร์ฟได้ เช่น DVD-RW ไม่สามารถใช้งานในเครื่องบันทึก DVD+RW ได้ ต้องเขียนกับเครื่องบันทึก DVD-RW เท่านั้น ส่วนการอ่านข้อมูลใน DVD นั้น สามารถอ่านกับเครื่องไหนก็ได้ เช่น DVD+RW สามารถอ่านกับเครื่องเล่นDVD-RW ได้
         4.4 โซนของแผ่นดีวีดี
          แผ่นดีวีดีที่ใช้บรรจุภาพยนตร์นั้น จะมีการบรรจุรหัสพื้นที่ใช้งานเฉพาะพื้นที่กำหนด (Regional Codes) หรือ โซน (Zone) เพื่อประโยชน์ในการควบคุมลิขสิทธิ์ ทั้งนี้ในแต่ละแผ่นจะบรรจุรหัสไว้อย่างน้อย 1 โซน สำหรับแผ่นที่สามารถใช้ได้กับทุกโซน (All Zone) นั้น จะบรรจุรหัสเป็น1,2,3,4,5,6 นั่นเอง แผ่นพวกนี้ในบางครั้งนิยมเรียกว่าแผ่นโซน 0 โดยปกติเครื่องเล่นดีวีดี รวมถึงดีวีดีรอม ที่ผลิตในแต่ละประเทศ จะสามารถเล่นได้เฉพาะแผ่นที่ผลิตสำหรับโซนนั้นๆ และแผ่นที่ระบุเป็น All Zone เท่านั้น โซนพื้นที่
4.4.1 สหรัฐอเมริกาแคนาดา
4.4.2 ยุโรปญี่ปุ่นแอฟริกาใต้ตะวันออกกลาง ( รวมถึง อียิปต์ )
4.4.3 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( รวมถึง ประเทศไทย )เอเชียตะวันออก ( รวมถึง ฮ่องกง แต่ไม่รวม จีน )
4.4.4 อเมริกากลางอเมริกาใต้โอเชียเนีย
4.4.5 ยุโรปตะวันออกรัสเซียเอเชียใต้แอฟริกาเกาหลีเหนือมองโกเลีย
4.4.6 จีน
4.4.7 ยานพาหนะระหว่างประเทศ เช่น เรือเครื่องบิน
         สำหรับโซน 2 (ยุโรป) อาจจะมีรหัสย่อยตั้งแต่ D1 จนถึง D4 โดย D1 คือจำหน่ายเฉพาะประเทศอังกฤษ, D2 และ D3 กำหนดว่าไม่จำหน่ายในอังกฤษและไอร์แลนด์ ส่วน D4หมายถึงจำหน่ายได้ทั่วทั้งยุโรป ในหนึ่งแผ่นดีวีดีสามารถใส่รหัสโซนรวมกันได้หลายโซน โดยอาจมีรหัสโซน 3/6 เพื่อให้สามารถใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับจีน
5.แฟลชไดรฟ์ (Flash Drive)
             แฟลชไดรฟ์ หรือ ยูเอสบีไดรฟ์ เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับเก็บข้อมูลโดยใช้หน่วยความจำแบบแฟลช ทำงานร่วมกับยูเอสบี 1.1 หรือ 2.0 มีลักษณะเล็ก น้ำหนักเบาเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีตัวขับเคลื่อน (Drive) สามารถพกพาไปไหนได้โดยต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย Port USB ปัจจุบันความจุของไดร์ฟมีตั้งแต่ 8, 16, 32, 64, 128 จนถึง 1024 เมกะไบต์ ทั้งนี้ยังมีไดร์ฟลักษณะเดียวกัน ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2549) บางรุ่นมีความจุสูงถึง16 GB โดยทั่วไปไดรฟ์จะทำงานได้ในหลายระบบปฏิบัติการซึ่งรวมถึง วินโดวส์98/ME/2000/XP แมคอินทอช ลินุกซ์ และยูนิกซ์ แฟลชไดรฟ์ รู้จักกันในชื่อต่างๆ รวมถึงทัมบ์ไดรฟ์    คีย์ไดรฟ์   “จัมป์ไดรฟ์ และชื่อเรียกอื่น โดยขึ้นอยู่กับผู้ผลิต
ส่วนประกอบพื้นฐานภายในแฟลชไดรฟ์
ภาพที่ 1.85 ส่วนประกอบของ แฟลชไดรฟ์ (Flash Drive)
1 USB connector
2 USB mass storage controller device
3 Test points
4 Flash memory chip
5 Crystal oscillator
6 LED
7 Write-protect switch
8 Unpopulated space for second flash memory chip
ชื่อเรียกของแฟลชไดรฟ์ (รวมถึงคำว่าแฟลชไดรฟ์) ไม่มีชื่อพื้นฐานที่กำหนด โดยผู้ผลิตได้ตั้งชื่อเป็นโมเดลของตัวเอง ซึ่งได้แก่
5.1.1 คีย์ไดรฟ์ (key drive)
5.1.2 จัมป์ไดรฟ์ (jump drive) เครื่องหมายการค้าของเล็กซาร์
5.1.3 ดาต้าคีย์ (data key)
5.1.4 ดาต้าสติ๊ก (data stick)
5.1.5 ทราเวลไดรฟ์ (travel drive) เครื่องหมายการค้าของ เมโมเร็กซ์
5.1.6 ทัมบ์ไดรฟ์ (thumb drive)
5.1.7 ทัมบ์คีย์ (thumb key)
5.1.8 เพนไดรฟ์ (pen drive)
5.1.9 ฟิงเกอร์ไดรฟ์ (finger drive)
5.1.10 แฟลชไดรฟ์ (flash drive)
5.1.11 แฟลชดิสก์ (flash disk)
5.1.12 เมโมรีไดรฟ์ (memory drive)
5.1.13 ยูเอสบีไดรฟ์ (usb drive)
5.1.14 ยูเอสบีคีย์ (usb key)
6. เทคโนโลยี Blu-Ray
      บลูเรย์ดิสค์ (Blu-ray Disc) หรือ บีดี (BD) คือรูปแบบของแผ่นออพติคอลสำหรับบันทึกข้อมูลความละเอียดสูง ชื่อของบลูเรย์มาจาก ช่วงความยาวคลื่นที่ใช้ในระบบบลูเรย์ ที่ 405 nmของเลเซอร์สี "ฟ้า" ซึ่งทำให้สามารถทำให้เก็บข้อมูลได้มากกว่าดีวีดี ที่มีขนาดแผ่นเท่ากัน โดยดีวีดีใช้เลเซอร์สีแดงความยาวคลื่น 650 nm
ภาพที่ 1.86 บลูเรย์ดิสค์ (Blu-ray Disc)
6.1ประวัติบลูเรย์
มาตรฐานของบลูเรย์พัฒนาโดย กลุ่มของบริษัทที่เรียกว่า Blu-ray Disc Association ซึ่งนำโดยโซนี และ ฟิลิปส์ เปรียบเทียบกับ เอ็ชดีดีวีดี (HD-DVD) ที่มีลักษณะและการพัฒนาใกล้เคียงกัน บลูเรย์มีความจุ 25 GB ในแบบเลเยอร์เดียว (Single-Layer) และ 50 GB ในแบบสองเลเยอร์ (Double-Layer) ขณะที่ เอ็ชดีดีวีดีแบบเลเยอร์เดียว มี 15 GB และสองเลเยอร์มี 30 GB
ความจุของบลูเรย์ดิสค์ ซึ่งปกติแผ่นบลูเรย์นั้นจะมีลักษณะคล้ายกับแผ่น ซีดี/ดีวีดี โดยแผ่นบลูเรย์จะมีลักษณะแบบหน้าเดียว และสองหน้า โดยแต่ละหน้าสามารถรองรับได้มากถึง 2เลเยอร์ อาทิ แผ่น BD-R (SL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Single Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 25 GB แผ่น BD-R (DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layerแบบหน้าเดียว มีความจุ 50 GB แผ่น BD-R (2DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบสองหน้า มีความจุ 100 GB ส่วนความเร็วในการอ่านหรือบันทึกแผ่น Blu-Ray ที่มีค่า 1x, 2x, 4x ในแต่ละ 1x จะมีความเร็ว 36 เมกะบิต ต่อ วินาที นั่นหมายความว่า 4x นั่นจะสามารถบันทึกได้เร็วถึง 144 เมกะบิต ต่อ วินาที         
6.2 Blu-ray Player
แผ่นดีวีดีโดยทั่วๆ ไปมีความจุ 4.7 กิกะไบต์ โดยเป็นขนาดความจุที่สามารถเก็บ ภาพยนตร์ขนาดความยาว 135 นาทีได้ในรูปแบบภาพวิดีโอมาตรฐานที่ถูกบีบอัดแล้ว อย่างไรก็ตาม ความจุขนาดนี้แม้จะมากก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถเก็บภาพยนตร์ในรูปแบบวิดีโอแบบความคมชัดสูงได้ โดยถ้าต้องการเก็บภาพยนตร์ความยาวเท่ากันในรูปแบบวิดีโอความคมชัดสูงแบบบีบอัดจะต้องการพื้นที่เพิ่มมากถึงห้าเท่า ทำให้ Blu-ray และ HD-DVD ถือกำเนิดขึ้นมาโดยใช้แสงเลเซอร์ที่ใช้ในการอ่านและเขียนแผ่นดิสก์แบบใหม่ซึ่งเป็นแสงสีน้ำเงิน (  คือแสงสีน้ำเงิน-ม่วง ) แสงสีน้ำเงินนี้จะมีความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงเลเซอร์สีแดงของแผ่นดีวีดีทั่วๆ ไปทำให้สามารถบันทึกข้อมูลลงแผ่นดิสก์ได้มาก กว่าบนเนื้อที่เท่าเดิม โดย Blu-ray สามารถเก็บวิดีโอความคมชัดสูงได้นานถึง 9 ชั่วโมงในแผ่นดิสก์แบบ double-layer และเก็บไฟล์วิดีโอที่บีบอัดตามมาตรฐานที่ใช้ในดีวีดีทั่วๆ ไปได้นานต่อเนื่องถึง 23 ชั่วโมง
ภาพที่ 1.87 เครื่อง Blu-ray Player
นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างในเรื่องของชั้นเคลือบดิสก์ โดยดิสก์แบบ Blu-ray มีชั้นเคลือบที่มีความหนาเพียงหนึ่งในหกของ ความหนาของดีวีดีทั่วๆ ไปหรือ HD-DVD นั่นทำให้ชั้นข้อมูลของดิสก์แบบ Blu-ray ใกล้ชิดกับผิวหน้าของดิสก์มากขึ้นและทำให้แสงเลเซอร์จากเครื่องเล่นแบบ Blu-ray อ่านข้อมูล ที่ถูกเก็บไว้เป็นชั้น (layer) ชั้นเดียวได้จำนวน มากขึ้น โดยโซนี่เองวางแผนที่จะเพิ่มชั้นของข้อมูลจาก 2 เป็น 4 ชั้นภายในปี 2007 และจะเพิ่มเป็น 8 ชั้นในที่สุด นั่นทำให้ดิสก์แบบ Blu-ray สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้นในแต่ละ ชั้นและเก็บได้หลายชั้นมากกว่า HD-DVD
Blu-ray มีโซนี่เป็นแกนนำภายใต้การสนับสนุนจากบริษัทอีกหลายบริษัท เช่น มัตซึ ชิตะ (พานาโซนิค)ธอมสันแอลจีฟิลิปส์ไพโอเนียร์ชาร์ป และซัมซุง รวมถึงวงการคอมพิวเตอร์อย่างเดลล์และเอชพี ในขณะที่ HD-DVD ถูกพัฒนาโดยโตชิบาและเอ็นอีซีเท่านั้น นั่นทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการนั่งดูหนังที่บ้านมากขึ้น โดยเป็นภาพยนตร์ความคมชัดสูงในระดับเดียวกับที่สามารถนั่งดูได้ที่มัลติเพล็กซ์
6.3 เครื่องเล่นบลูเรย์รุ่นแรก
6.3.1 โซนี่ เพลย์สเตชัน 6.3.2 โซนี่ รุ่น BDP-S1
6.3.3 ซัมซุง รุ่น BD-P1000
6.3.4 พานาโซนิค รุ่น DMP-BD10
6.3.5 ไพโอเนียร์ รุ่น BDP-HD1
6.3.6 ฟิลิปส์ รุ่น BDP9000
6.3.7 ชาร์ป รุ่น DV-BP1
6.3.8 แอลจี รุ่น BD100
6.3.9 ไลท์-ออน รุ่น BDP-X1
6.4 Blu-ray Disc และ HD DVD Disc
ภาพที่ 1.88 แผ่น Blu-ray Disc และ HD DVD Disc
อย่างไรก็ตาม ความคิดของสตูดิโอภาพยนตร์และผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มองว่าเทคโนโลยีใหม่นี้จะช่วยให้สามารถเพิ่มตลาดบันเทิงภายในบ้านให้กว้างขวางมากขึ้นนั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ผิดก็ได้ ไม่ใช่เป็นเพราะการ ที่ผู้บริโภคต้องมาเดิมพันเลือกข้างของเทคโนโลยีเหมือนสมัยสงครามระหว่าง VHS กับ Betamax เพราะอย่างน้อยภายในปีหน้าก็จะมีเครื่องเล่นที่สามารถสนับสนุนมาตรฐานทั้งสองได้ แต่จะเป็นเพราะอาจจะถึงคราวสิ้น สุดยุคของดิสก์แล้วก็ได้ โดยมี 4 เหตุผลสำคัญที่มาสนับสนุน ได้แก่
6.4.1    อินเทอร์เน็ต ไมโครซอฟท์กำลังเปิดบริการให้เช่าภาพยนตร์และบริการดาวน์โหลดผ่านเครื่องเล่น Xbox Live ของตัวเอง โดยเป็นบริการแรกที่รวมเอาการดาวน์โหลดภาพยนตร์ที่มีความคมชัดสูงด้วย ซึ่งถือเป็น การตัดหน้าเพลย์สเตชั่น 3 ของโซนี่ซึ่งจะรวมเอาเทคโนโลยี Blu-ray เอาไว้ด้วย โดยเครื่อง Xbox 360 สามารถเล่นได้เพียงแค่ดีวีดีทั่วๆ ไปเท่านั้น บริการให้เช่าวิดีโอผ่านการดาวน์โหลดถือเป็นการข้ามความจำเป็นที่ต้องใช้มีเดียหรือดิสก์ไป รวมถึงเป็นการแก้ปัญหาที่ iTunes ต้องเผชิญในการขายภาพยนตร์โดยเฉพาะภาพยนตร์ความละเอียดสูง โดยเมื่อเราดาวน์โหลดภาพยนตร์เข้ามาไว้ในเครื่อง Xbox แล้วซึ่งปกติเครื่อง Xbox ต้องต่อกับโทรทัศน์อยู่แล้วก็ทำให้สามารถดูผ่านโทรทัศน์ได้เลย แต่ข้อเสียก็คือ ต้องมีเครื่อง Xbox ด้วย
6.4.2    Cable on-demand เครื่องมืออย่าง Comcast Box เป็น การนำภาพยนตร์ความคมชัดสูงมาเจอกับจอแบบ HDTV นอกจากนี้การ ดูแบบออนดีมานด์สามารถเปิดดูได้ทันทีโดยไม่ต้องมานั่งรอดาวน์โหลดให้เสร็จอีก แต่สตูดิโอโดยส่วนใหญ่ก็พยายามไม่เอาภาพยนตร์ที่เพิ่งลง โรงมาให้ดูผ่านบริการแบบออนดีมานด์ แต่ทุกวันนี้สถานการณ์กำลังจะ เปลี่ยนแปลงไป และมีการลองนำภาพยนตร์ที่เพิ่งลงโรงมาฉายบ้างแล้ว ที่สำคัญเทคโนโลยีป้องกันการทำซ้ำของบริษัทเคเบิลทั้งหลายน่าจะทำให้ ผู้ผลิตภาพยนตร์เบาใจลงบ้าง เช่นเดียวกับบริการให้เช่าภาพยนตร์ของ Xbox ที่ภาพยนตร์เรื่องนั้นๆ จะหมดอายุภายใน 24 ชั่วโมงภายหลังจาก การดาวน์โหลด
6.4.3    การปรากฏของรูปแบบของดิสก์แบบใหม่หมายถึงเงินลงทุน เรื่องฮาร์ดแวร์ที่ต้องเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน แน่นอนว่าหลังจากลงทุนซื้อ HDTV (ราคาประมาณ 3,000 เหรียญ) รวมถึงเครื่องเสียงอีกจำนวนหนึ่ง คงไม่มีใครอยากจะลงทุนอีกมากมายนักแน่นอน และเครื่องเล่นวิดีโอความ คมชัดสูงก็ไม่ใช่ถูกๆ (เครื่องเล่น HD-DVD ราคาประมาณ 350-600 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่เครื่องเล่น Blu-ray ราคาอยู่ระหว่าง 750-1,000 เหรียญสหรัฐ) การตัดสินใจที่จะให้เครื่องเล่นเพลย์สเตชั่น 3 ของโซนี่ เองสนับสนุนเทคโนโลยี Blu-ray ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญและยอดเยี่ยม ในการเพิ่มอุปสงค์ต่อภาพยนตร์ที่ใช้เทคโนโลยี Blu-ray อย่างไรก็ตามถือเป็นการเดิมพันครั้งสำคัญของโซนี่ด้วยเพราะถ้ามาตรฐานนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากตลาดก็จะทำให้เครื่องเพลย์สเตชั่นของโซนี่กลายเป็นเครื่องพิกลพิการไปด้วย
6.4.4    การกลับมาอีกครั้งของฮาร์ดดิสก์ไดรว์ การดาวน์โหลดภาพยนตร์ต่างจากดีวีดีตรงที่เพียงต้องการพื้นที่ที่จำเป็นต้องเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์เท่านั้น โดยสามารถเก็บได้นานเท่าที่ต้องการ โดยอาจจะเก็บไว้ดูเพียงครั้งสองครั้ง หรือเก็บไว้ตลอดกาลก็ได้เช่นกัน เมื่อเทียบกับการโหลดเพลงผ่าน iTunes ซึ่งมีราคาถูกกว่าการซื้ออัลบั้มจริงๆ 8-10 เหรียญสหรัฐ ตามร้านขายปลีกทั่วไป และเมื่อพิจารณาว่าราคาฮาร์ดดิสก์ได้ลดลงอย่างต่อเนื่องในขณะที่ขนาดความจุกลับเพิ่มขึ้นอย่าง ก้าวกระโดดเช่นกัน ก็ยิ่งเห็นประโยชน์ของฮาร์ดดิสก์
อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการดาวน์โหลดภาพยนตร์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตก็คือ การนำไปใช้งานที่ยังยากอยู่เมื่อเทียบกับดูผ่าน แผ่นดีวีดีทั่วๆ ไปเพราะจำเป็นต้องมีทักษะในระดับหนึ่ง นอกจากนี้การที่ต้องนั่งรอดาวน์โหลดให้เสร็จถึงจะดูได้ก็เป็นอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งด้วยเช่นกัน
ดิสก์จะถึงกาลอวสานตามการคาดการณ์หรือไม่ก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงคือสัจธรรมอันเป็นนิรันดรที่ใครก็ตามที่ก้าวเข้ามาสู่โลกของเทคโนโลยีหรือโลกใดๆ ก็ตามแต่ไม่สามารถข้ามพ้นมันไปได้
7. เทคโนโลยี HD-DVD
HD DVD ( High Definition DVD หรือ High Density DVD ) เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง ( optical disc ) ที่ใช้บันทึกวิดีโอความละเอียดสูง ( high definition ) หรือข้อมูลชนิดอื่นๆ ก็ได้ HD DVD มีลักษณะใกล้เคียงกับ Blu-ray ซึ่งเป็นแผ่นบันทึกข้อมูลคู่แข่ง โดยใช้ขนาดแผ่นเท่ากับซีดีรอม ( เส้นผ่านศูนย์กลาง 12 ซม. )
 
ภาพที่ 1.89 แผ่นและเครื่องเล่น HD DVD
7.1 ประวัติของ HD DVD
HD DVD ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมหลายบริษัท เช่น โตชิบา, NEC, ซันโยไมโครซอฟท์ และอินเทล รวมถึงบริษัทภาพยนตร์อย่าง Universal Studios โตชิบายังได้ออกวางขายเครื่องเล่นแผ่น HD DVD เครื่องแรกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2006
7.2 ความจุของ HD DVD
HD DVD แบบเลเยอร์เดียวจุข้อมูลได้ 15GB และ 30GB สำหรับแบบสองเลเยอร์ โตชิบาได้ประกาศว่าจะผลิตแผ่นแบบ 3 เลเยอร์ที่จุได้ 45GB ในตัวแผ่น HD DVD สามารถใส่ข้อมูลชนิดดีวีดีแบบเดิม และ HD DVD ได้พร้อมกัน การอ่านข้อมูลใช้เลเซอร์ความยาวคลื่นแสงสีฟ้า (405นาโนเมตร )
ชั้นข้อมูลจะถูกบันทึกถัดไปจากพื้นผิว 0.6 มิลลิเมตรเช่นเดียวกับดีวีดีทั่วไป เทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูลวิดีโอคือ MPEG-2, Video Codec 1 และ H.264/MPEG-4 AVC สนับสนุนระบบเสียงแบบ7.1 ในส่วนความละเอียดของภาพนั้นขึ้นกับจอภาพที่ใช้ด้วย แต่สามารถขึ้นได้ที่ความละเอียดสูงสุด 1080p
7.3 HD DVD Player
เมื่อเรามองย้อนไปในอดีตจะพบว่า การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีอันมีผลต่อการเสพสิ่งบันเทิงล้วนสร้างความแตกต่างให้กับผู้เสพในเรื่องประสบการณ์ใหม่ๆ อยู่เสมอ การถือกำเนิดของโทรทัศน์ที่กลายเป็นเครื่องใช้ประจำบ้านไปแล้วและเป็นอุปกรณ์ที่เกือบมาทำให้ธุรกิจภาพยนตร์ต้องถึงกาลอวสานโดยทำให้จำนวนผู้ออกไปชมภาพยนตร์ นอกบ้านในปี 1948 ที่มีจำนวน 90 ล้านคนต่อสัปดาห์เหลือเพียง 20 ล้านคนต่อสัปดาห์ในปี 1966 และเมื่อคนอเมริกันมีโทรทัศน์สีใช้แล้วก็ทำให้คนดูอีกกว่า 70 ล้านคนต่อสัปดาห์ เลิกไปโรงภาพยนตร์ และทำให้ฮอลลีวูดต้องหันมาลงทุนโฆษณาจำนวนมหาศาล เพื่อประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์เรื่องใหม่ๆ ผ่านโทรทัศน์เพื่อดึงคนกลับไปดูภาพยนตร์อีกครั้ง เมื่อมีวิดีโอและดีวีดี รวมถึงการสามารถทำสำเนาวิดีโอและดีวีดีเถื่อนได้ก็ส่งผลให้โรงภาพยนตร์แทบจะหายไปจากทวีปเอเชียและยุโรปตะวันออกเลย นี่หมายความว่า Blu-ray รวมถึง HD-DVD กำลังจะมาสร้างปรากฏการณ์ใหม่อีกครั้งต่อวงการฮอลลีวูด จริงๆ แล้วดีวีดีแบบ Blu-ray น่าจะเป็นเครื่องมือทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญของโซนี่ โดยการที่ดีวีดีแบบนี้จะมีชั้นของการเก็บข้อมูล หลายชั้น ซึ่งนอกจากสามารถเก็บข้อมูลดิจิตอลจำนวนมากๆ ได้แล้วยังสามารถใช้ใน การบันทึกข้อมูลที่ดาวน์โหลดมาจากอินเทอร์เน็ตได้ด้วย โดยเป็นโปรโมชั่นของเว็บไซต์ของ โซนี่เองที่สามารถเพิ่มเกมมิวสิควิดีโอ รวมถึง อะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์เรื่องนั้นๆ ที่สามารถนำมาเพิ่มให้เต็มครบชุดได้
8. Floptical Disk
เป็นการนำเทคโนโลยีด้านแสงเข้ามาช่วยในการบันทึกข้อมูล แต่ไม่ได้ใช้แสงโดยตรง ลักษณะ Floptical disk จะมีรูปร่างเหมือนฟล็อปปี้ดิสก์ขนาด 3.5 นิ้วทุกประการ แต่มีความจุมากขึ้นเป็น 120 เมกะไบต์ทีเดียว และตัวไดรว์ยังใช้อ่านเขียนข้อมูลแผ่นดิสก์ธรรมดาได้ด้วย ชื่อทางการค้าของ
ภาพที่ 1.90 แผ่น Floptical Disk
Floptical Drive
ที่เป็นที่รู้จักกันได้แก่ SuperDisk จากบริษัท Imation
ภาพที่ 1.91 เครื่อง Floptical หรือ Super Disk
หลักการของ Floptical Drive
หลักการของ Floptical Drive อาศัยการบันทึกข้อมูลด้วยสนามแม่เหล็กเหมือนฟล็อปปี้ดิสก์ธรรมดา แต่ใช้กลไกการอ่านที่เรียกว่า optical servo (หรือบางทีเรียกว่า Laser servo)หรือวงจรเลื่อนตำแหน่งหัวอ่านควบคุมด้วยแสง ทำให้สามารถเลื่อนหัวอ่าน/เขียนได้ตรงกับแทรคที่มีความหนาแน่นกว่าดิสเก็ตธรรมดามาก เช่น ในดิสก์ธรรมดามี 80 แทรค 2480 sector แต่ในFloptical disk จะมี ถึง 1,736 แทรค 245,760 sector ทำให้ได้ความจุรวมถึง 120 เมกะไบต์ต่อแผ่น Floptical disk หมุนด้วยความเร็ว 720 รอบต่อนาที และมีอัตรารับส่งข้อมูล ประมาณ3.2-5.4 เมกะบิตต่อวินาที
9. ZIP drive 
นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีคล้ายกัน แต่รูปแบบต่างกันไป เช่น Zip Drive จากIomega ที่ออกมาก่อน Superdisk แต่ได้รับความนิยมมากพอสมควร Zip Drive มีทั้งรุ่นที่ต่อกับParallel port,USB port และแบบ SCSI และได้เพิ่มความจุจาก 100 เป็น 250 เมกะไบต์Iomega ยังได้ผลิต Jaz Drive ที่มีลักษณะเหมือนฮาร์ดดิสก์ถอดได้ โดยจะมีตัวไดรว์เป็นระบบSCSI เท่านั้น และมีแผ่นบรรจุข้อมูลขนาด 1 GB และ 2 GB นิยมใช้สำหรับการสำรองข้อมูลย้ายไปมา เนื่องจากมีความเร็วน้อยกว่าฮาร์ดดิสก์ และยังมีราคาแพงกว่า Zip หรือ Superdisk มาก
ภาพที่ 1.92 ZIP drive 
10. เทปแบ็คอัพ ( Tape Backup ) เป็นอุปกรณ์สำหรับการสำรองข้อมูล ซึ่งเหมาะกับการสำรองข้อมูลทีมีขนาดใหญ่ๆ ระดับ 10-100 กิกะไบต์
ภาพที่ 1.93 เทปแบ็คอัพ ( Tape Backup )
11. การ์ดเมมโมรี ( Memory Card )  เป็นสื่อจัดเก็บข้อมูลประเภทหน่วยความจำสำรองแบบ flash memory ประเภทหนึ่งคะ  ซึ่งผู้ใช้สามารถบันทึกข้อมูลลงไปได้โดยที่ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ ข้อมูลไม่มีการสูญหายเมื่อปิดสวิตซ์  มีความเร็วสูงในการขนถ่ายเคลื่อนย้ายข้อมูล  ส่วนที่ใช้บันทึกข้อมูลของเมมโมรี่การ์ดจะเป็นชิป ซึ่งเรียกว่า solid state chips ซึ่งใช้กระบวนการทางไฟฟ้าในการบันทึกข้อมูล  และมีตัวควบคุมการอ่านและเขียนในตัว
       การ์ดเมมโมรี ( Memory Card )   พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์เทคโนโลยีแบบต่างๆ เช่น กล้องดิจิทัล คอมพิวเตอร์มือถือ ( Personal Data Assistant PDA) โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
       ปัจจุบันมีเมมโมรี่การ์ดมากมายหลากหลายแบรนด์เนมและขนาดความจุ เช่น MultiMedia Cards (MMC) , Secure digital card (SD), MicroSD card, CompactFlash card (CF), Memory stick (MS), XD Picture Card
ภาพที่ 1.94 การ์ดเมมโมรี ( Memory Card ) แบบต่างๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น