วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ฟังก์ชันใน PHP

ฟังก์ชันใน PHP

ฟังก์ชันในโปรแกรมส่วนใหญ่ได้รับการเรียกคำสั่งเพื่อทำงานอย่างเดียว สิ่งนี้ทำให้คำสั่งอ่านได้ง่ายและยอมให้ใช้คำสั่งใหม่แต่ละครั้งเมื่อต้องการทำงานเดียวกัน
ฟังก์ชันเป็นโมดูลเก็บคำสั่งที่กำหนดการเรียกอินเตอร์เฟซ ทำงานเดียวกัน และตัวเลือกส่งออกค่าจากการเรียกฟังก์ชัน คำสั่งต่อไปเป็นการเรียกฟังก์ชันอย่างง่าย
my_function ();
คำสั่งเรียกฟังก์ชันชื่อ my_function ที่ไม่ต้องการพารามิเตอร์ และไม่สนใจค่าที่อาจจะส่งออกโดยฟังก์ชันนี้
ฟังก์ชันจำนวนมากได้รับการเรียกด้วยวิธีนี้ เช่น ฟังก์ชัน phpinfo () สำหรับแสดงเวอร์ชันติดตั้งของ PHP สารสนเทศเกี่ยวกับ PHP การตั้งค่าแม่ข่ายเว็บ ค่าต่างๆ ของ PHP และตัวแปร ฟังก์ชันนี้ไม่ใช้พารามิเตอร์และโดยทั่วไปไม่สนใจค่าส่งออก ดังนั้นการเรียก phpinfo () จะประกอบขึ้นดังนี้
phpinfo ();

การกำหนดฟังก์ชันและการเรียกฟังก์ชัน

การประกาศฟังก์ชันเริ่มต้นด้วยคีย์เวิร์ด function กำหนดชื่อฟังก์ชัน พารามิเตอร์ที่ต้องการ และเก็บคำสั่งที่จะประมวลผลแต่ละครั้งเมื่อเรียกฟังก์ชันนี้
<?php
function function_name(parameter1,…)
{
ชุดคำสั่ง …
}
?>
ชุดคำสั่งต้องเริ่มต้นและสิ้นสุดในวงเล็บปีกกา ({ }) ตัวอย่างฟังก์ชัน my_function
<?php
function my_function()
{
$mystring =<<<BODYSTRING
my function ได้รับการเรียก
BODYSTRING;
echo $mystring;
}
?>
การประกาศฟังก์ชันนี้ เริ่มต้นด้วย function ดังนั้นผู้อ่านและตัวกระจาย PHP ทราบว่าต่อไปเป็นฟังก์ชันกำหนดเอง ชื่อฟังก์ชันคือ my_function การเรียกฟังก์ชันนี้ใช้ประโยคคำสั่งนี้
my_function ();
การเรียกฟังก์ชันนี้จะให้ผลลัพธ์เป็นข้อความ "my function ได้รับการเรียก " บน browser

การตั้งชื่อฟังก์ชัน

สิ่งสำคัญมากในการพิจารณาเมื่อตั้งชื่อฟังก์ชันคือชื่อต้องสั้นแต่มีความหมาย ถ้าฟังก์ชันสร้างส่วนตัวของเพจควรตั้งชื่อเป็น pageheader () หรือ page_header ()
ข้อจำกัดในการตั้งชื่อคือ
  • ฟังก์ชันไม่สามารถมีชื่อเดียวกับฟังก์ชันที่มีอยู่
  • ชื่อฟังก์ชันสามารถมีได้เพียงตัวอักษรตัวเลข และ underscore
  • ชื่อฟังก์ชันไม่สามารถเริ่มต้นด้วยตัวเลข
หลายภาษายอมให้ใช้ชื่อฟังก์ชันได้อีก ส่วนการทำงานนี้เรียกว่า function overload อย่างไรก็ตาม PHP ไม่สนับสนุน function overload ดังนั้นฟังก์ชันไม่สามารถมีชื่อเดียวกันกับฟังก์ชันภายใน หรือฟังก์ชันกำหนดเองที่มีอยู่
หมายเหตุ ถึงแม้ว่าทุกสคริปต์ PHP รู้จักฟังก์ชันภายในทั้งหมด ฟังก์ชันกำหนดเองอยู่เฉพาะในสคริปต์ที่ประกาศสิ่งนี้หมายความว่า ชื่อฟังก์ชันสามารถใช้ในคนละไฟล์แต่อาจจะไปสู่ความสับสน และควรหลีกเลียง
ชื่อฟังก์ชันต่อไปนี้ถูกต้อง
name ()
name2 ()
name_three ()
_namefour ()
ชื่อไม่ถูกต้อง
5name ()
Name-six ()
fopen ()
การเรียกฟังก์ชันไม่มีผลจากชนิดตัวพิมพ์ ดังนั้นการเรียก function_name (), Function_Name() หรือ FUNCTION_NAME() สามารถทำได้และมีผลลัพธ์เหมือนกัน แต่แบบแผนการกำหนดชื่อฟังก์ชันใน PHP ให้ใช้ตัวพิมพ์เล็ก
ชื่อฟังก์ชันแตกต่างจากชื่อตัวแปร โดยชื่อตัวแปรเป็นชนิดตัวพิมพ์มีผล ดังนั้น $Name และ $name เป็น 2 ตัวแปร แต่ Name () และ name () เป็นฟังก์ชันเดียวกัน

การหยุดประมวลผลภายในฟังก์ชัน

คีย์เวิร์ด return หยุดการประมวลผลฟังก์ชัน ฟังก์ชันสิ้นสุดได้เพราะประโยคคำสั่งทั้งหมดได้รับการประมวลผล หรือ ใช้คีย์เวิร์ด return การประมวลผลกลับไปยังประโยคคำสั่งต่อจากการเรียกฟังก์ชัน
<?php
function division($x, $y)
{
if ($y == 0 || !isset($y))
{
echo " ตัวหาร y ต้องไม่เป็นศูนย์หรือไม่มีค่า" ;
return;
}
$result = $x / $y;
echo $result;
}
?>
ถ้าประโยคคำสั่ง return ได้รับการประมวลผล บรรทัดคำสั่งต่อไปในฟังก์ชันจะถูกข้ามไป และกลับไปยังผู้เรียกฟังก์ชันนี้ ในฟังก์ชันนี้ ถ้า y เป็น 0 จะหยุดการประมวลผล ถ้า y ไม่เท่ากับ 0 จะคำนวณผลหาร
สมมติป้อนค่าเป็น
x = 4, y = 0
x = 4
x = 4, y = 2
ผลลัพธ์ของคำสั่ง คือ
x = 4, y = 0 ผลลัพธ์ ตัวหาร y ต้องไม่เป็นศูนย์หรือไม่มีค่า
x = 4, y = ผลลัพธ์ ตัวหาร y ต้องไม่เป็นศูนย์หรือไม่มีค่า
x = 4, y = 2 ผลลัพธ์ 2

การเรียกฟังก์ชัน

เมื่อฟังก์ชันได้รับการประกาศหรือสร้างขึ้นแล้ว การเรียกฟังก์ชันสามารถเรียกมาจากที่ใดๆ ภายในสคริปต์ หรือ จากไฟล์ที่มีการรวมด้วยประโยคคำสั่ง include() หรือ require()
ตัวอย่าง ฟังก์ชัน show_message() เก็บอยู่ในไฟล์ fn_ 03 _keeper.php ส่วนผู้เรียกอยู่ในสคริปต์ fn_ 03 _caller.php
<?php
include("fn_ 03 _keeper.php");
show_message();
?>

พารามิเตอร์

ตามปกติฟังก์ชันส่วนใหญ่ต้องการรับสารสนเทศจากผู้เรียกสำหรับการประมวลผล โดยทั่วไปเรียกว่า พารามิเตอร์

ไวยากรณ์พื้นฐาน

การกำหนดฟังก์ให้รับพารามิเตอร์ส่งผ่านโดยการวางข้อมูล ชื่อตัวแปรที่เก็บข้อมูลภายในวงเล็บหลังชื่อฟังก์ชัน การเรียกฟังก์ชันที่ประกอบด้วยพารามิเตอร์เขียนดังนี้
<?php
function show_parameter($param1, $param2, $param3)
{
echo <<<PARAM
รายการพารามิเตอร์ <br/>
param1: $param1 <br/>
param2: $param2 <br/>
param3: $param3 <br/>
PARAM;
}
?>
พารามิเตอร์ที่ส่งไปยังฟังก์ชันแยกกันเครื่องหมายจุลภาคภายในวงเล็บ โดยสามารถส่งเป็นนิพจน์สำหรับแต่ละพารามิเตอร์ด้วย ตัวแปร ค่าคงที่ ผลลัพธ์จากการคำนวณ รวมถึงการเรียกฟังก์ชัน
scope ของพารามิเตอร์จำกัดภายในฟังก์ชัน ถ้าชื่อตัวแปรเหมือนกับตัวแปรใน scope ระดับอื่น พารามิเตอร์นี้ "ระบุ" เป็นตัวแปรภายในที่ไม่มีผลกับตัวแปรภายนอกฟังก์ชัน

การส่งผ่านโดยค่า(By Value)

ตามปกติการส่งผ่านพารามิเตอร์ไปยังฟังก์ชันเป็นการส่งผ่านค่า การเปลี่ยนแปลงจะจำกัดภายในเฉพาะภายในฟังก์ชัน
ตัวอย่างฟังก์ชัน new_value () ที่ยอมให้เพิ่มค่า อาจจะเขียนคำสั่งดังนี้
<?php
function new_value($value, $increment= 1)
{
$value = $value + $increment;
}
$value = 10 ;
new_value($value);
echo "$value<br/>\n";
?>
คำสั่งนี้ใช้ไม่ได้ ผลลัพธ์จะเป็น "10" ค่าใหม่ของ $value ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
สิ่งนี้เป็นเพราะกฎ scope คำสั่งนี้สร้างตัวแปรเรียกว่า $value เป็น 10 เมื่อเรียกฟังก์ชัน new_value () ตัวแปร $value ในฟังก์ชันได้รับการสร้างเมื่อเรียกฟังก์ชัน ค่า 1 ได้รับการเพิ่มให้กับตัวแปร ดังนั้นค่าของ $value คือ 11 ภายในฟังก์ชัน จนกระทั่งสิ้นสุดฟังก์ชัน แล้วกลับไปยังคำสั่งที่เรียกภายในคำสั่งนี้ ตัวแปร $value เป็นอีกตัวแปร global scope และไม่มีการเปลี่ยนแปลง

การส่งผ่านโดยการอ้างอิง (By Reference)

ตามตัวอย่างฟังก์ชัน new_value ถ้าต้องการให้ฟังก์ชันเปลี่ยนแปลงค่าได้ มีวิธีหนึ่งในการแก้ไขคือ ประกาศ $value ในฟังก์ชันเป็น global แต่หมายความว่าในการใช้ฟังก์ชันนี้ ตัวแปรที่ต้องการเพิ่มค่าต้องตั้งชื่อเป็น $value แต่มีวิธีดีกว่าคือ ใช้การส่งผ่านโดยการอ้างอิง
การอ้างอิงไปตัวแปรต้นทางแทนที่มีค่าของตัวเอง การปรับปรุงไปยังการอ้างอิงจะมีผลกับตัวแปรต้นทางด้วย
การระบุพารามิเตอร์ที่ใช้การส่งผ่านโดยการอ้างอิงให้วาง ampersand (&) หน้าชื่อพารามิเตอร์ในข้อกำหนดฟังก์ชัน
ตัวอย่าง new_value () ได้รับปรับปรุงให้มี 1 พารามิเตอร์ส่งผ่านโดยการอ้างอิงและทำงานได้อย่างถูกต้อง
<?php
function new_value(&$value, $increment=1)
{
$value = $value + $increment;
}
?>
คำสั่งทดสอบฟังก์ชัน ให้พิมพ์ 10 ก่อนการเรียก increment () และ 11 ภายหลัง
ในการส่งค่าโดยการอ้างอิงต้องส่งเป็นตัวแปรไม่สามารถกำหนดค่าคงที่โดยตรง

จำนวนตัวแปรของพารามิเตอร์

การส่งผ่านพารามิเตอร์ไปยังฟังก์ชันนั้น การควบคุมของ PHP ได้กำหนดฟังก์ชันจำนวนหนึ่งให้ยอมรับจำนวนตัวแปรของพารามิเตอร์ ได้แก่ func_num_args, func_get_arg และ func_get_args
func_num_args() บอกจำนวนพารามิเตอร์ไปยังฟังก์ชันที่เรียก func_get_arg() แสดงค่าของพารามิเตอร์ตามดัชนี และ func_get_args() ส่งออก array ของพารามิเตอร์
<?php
function show_pass_value()
{
$idx = count(func_get_args());
echo " จำนวนพารามิเตอร์ $idx <br/>\n";
if ($idx > 0)
    echo ">> ใช้ฟังก์ชัน func_get_arg<br/>\n";
for ($i = 0 ; $i < $idx; $i++)
{
echo " พารามิเตอร์ที่ $i ค่า: ". func_get_arg($i)."<br/>\n";
}
if ($idx > 0)
    echo ">> ใช้ฟังก์ชัน func_get_args<br/>\n";
$params = func_get_args();
foreach ($params as $index => $val)
{
echo " พารามิเตอร์ที่ $index ค่า: $val<br/>\n";
}
echo " *********<br/>\n";
}
$x = 4 ;
show_pass_value("one", "two", 3 , $x, " ห้า" , " หก") ;
show_pass_value();
?>
ผลลัพธ์
จำนวนพารามิเตอร์ 6
>> ใช้ฟังก์ชัน func_get_arg
พารามิเตอร์ที่ 0 ค่า: one
พารามิเตอร์ที่ 1 ค่า: two
พารามิเตอร์ที่ 2 ค่า: 3
พารามิเตอร์ที่ 3 ค่า: 4
พารามิเตอร์ที่ 4 ค่า: ห้า
พารามิเตอร์ที่ 5 ค่า: หก
>> ใช้ฟังก์ชัน func_get_args
พารามิเตอร์ที่ 0 ค่า: one
พารามิเตอร์ที่ 1 ค่า: two
พารามิเตอร์ที่ 2 ค่า: 3
พารามิเตอร์ที่ 3 ค่า: 4
พารามิเตอร์ที่ 4 ค่า: ห้า
พารามิเตอร์ที่ 5 ค่า: หก
*********
จำนวนพารามิเตอร์ 0
*********

Scope

เมื่อต้องการใช้ตัวแปรภายในไฟล์ที่รวม ต้องมีการประกาศตัวแปรเหล่านั้นก่อนประโยคคำสั่ง require () หรือ include () แต่เมื่อใช้ฟังก์ชันจะเป็นการส่งผ่านตัวแปรเชิงประจักษ์เหล่านั้นไปยังฟังก์ชัน บางส่วนเป็นเพราะไม่มีกลไกส่งผ่านตัวแปรเชิงประจักษ์ไปยังไฟล์ที่รวม และบางส่วนเป็นเพราะ scope ของตัวแปรของฟังก์ชันแตกต่างกัน
การควบคุม scope ของตัวแปรเป็นการทำให้ตัวแปรมองเห็นได้ ใน PHP มีกฎตั้งค่า scope ดังนี้
  • การประกาศตัวแปรภายในฟังก์ชันอยู่ใน scope จากประโยคคำสั่งซึ่งตัวแปรให้รับการประกาศภายในวงเล็บปีกกา สิ่งนี้เรียกว่า function scope ตัวแปรเรียกว่า local variable
  • การประกาศตัวแปรภายนอกฟังก์ชันอยู่ใน scope จากประโยคคำสั่งซึ่งตัวแปรได้รับการประกาศที่สิ้นสุดแต่ไม่ใช้ภายในฟังก์ชัน สิ่งนี้เรียกว่า global scope ตัวแปรเรียกว่า global variable
  • การใช้ประโยคคำสั่ง require () และ include () ไม่มีผลกับ scope ถ้าประโยคคำสั่งได้รับการใช้ภายในฟังก์ชัน ประยุกต์ด้วย function scope ถ้าไม่ได้อยู่ภายในฟังก์ชัน ประยุกต์ด้วย global scope
  • คีย์เวิร์ด global สามารถระบุได้เองเพื่อกำหนดหรือใช้ตัวแปรภายในฟังก์ชันให้มี scope เป็น global
  • ตัวแปร สามารถลบโดยการเรียก unset ($variable_name) และตัวแปรที่ unset จะไม่มี scope
  • ตัวแปรระดับ superglobal สามารถเข้าถึงได้ทุกส่วนในสคริปต์

ตัวแปรระดับฟังก์ชัน

ตัวแปรระดับฟังก์ชันหรือ local variable เป็นการประกาศเพื่อใช้เฉพาะภายในฟังก์ชัน ไม่สามารถเรียกจากภายนอกฟังก์ชันได้
<?php
$newline = <<<NLSTRING
<br/>\n
NLSTRING;
$var_global = 10 ;
function show_value()
{
global $newline;
$var_local= 75 ;
echo "\$var_local 1: $var_local";
echo $newline;
}
show_value();
echo "\$var_global : $var_global";
echo $newline;
echo "\$var_local 2: $var_local";
echo $newline;
?>
ผลลัพธ์
$var_global 1 :
$var_local 1: 75
$var_global 2: 10
$var_local 2:
ตามตัวอย่างนี้ ตัวแปรระดับฟังก์ชัน $var_local ไม่สามารถแสดงผลในการพิมพ์ภายนอกฟังก์ชัน show_value() และ $var_global ที่เป็นตัวแปรระดับ global ไม่สามารถแสดงผลภายใน show_value() เพราะมี scope ต่างกัน

ตัวแปรระดับ global

ถ้าต้องการนำตัวแปรระดับ global มาใช้ภายในฟังก์ชันต้องประกาศด้วยคีย์เวิร์ด global ก่อนประโยคคำสั่งที่ใช้ตัวแปรนั้น ตัวอย่าง ฟังก์ชัน show_value() ใช้ $newline จากภายนอกฟังก์ชัน
global $newline;

ตัวแปรสถิตย์

การประกาศตัวแปรสถิตย์ใช้ คีย์เวิร์ด static เมื่อมีการเรียกใช้ฟังก์ชัน โปรแกรมจะกำหนดค่าตัวแปรตามที่ระบุเพียงครั้งเดียว ถ้าเรียกซ้ำอย่างต่อเนื่องค่านี้จะเปลี่ยนแปลงตามการคำนวณ
<?php
function increment()
{
static $increase = 5 ;
$increase++;
echo $increase."<br/>\n";
}
$end = 5 ;
for ($i = 1 ; $i < $end; $i++)
    increment();
?>
ผลลัพธ์
6
7
8
9
ค่าของตัวแปรสถิตย์ได้รับการตั้งทุกครั้งเมื่อเรียกใช้ในครั้งต่อไป

การส่งออกค่าจากฟังก์ชัน

การส่งค่าออกจากฟังก์ชันใช้คีย์เวิร์ด return เช่นเดียวกับการออกจากฟังก์ชันได้ ถ้าไม่มีการระบุส่งออกฟังก์ชันจะส่งค่า NULL
ตัวอย่าง ฟังก์ชัน get_larger () สาธิตการส่งออกค่า
<?
function get_larger($x=NULL, $y=NULL)
{
if (!isset($x) || !isset($y))
    return " ไม่มีการส่งค่า" ;
if ($x > $y)
    return $x;
else if ($x < $y)
    return $y;
else
    return " ค่าเท่ากัน" ;
}
$sends = array();
$sends[0] = array('x' =>5);
$sends[1] = array('x' =>9, 'y'=>3);
$sends[2] = array('x' =>5, 'y'=>8);
$sends[3] = array('x' =>4, 'y'=>4);
foreach ($sends as $send)
{
echo "x = ".$send['x']." y = ".$send['y']." : ค่า - > "
.get_larger($send['x'], $send['y']);
echo "<br/>\n";
}
?>
ผลลัพธ์
x = 5 y = : ค่า - > ไม่มีการส่งค่า
x = 9 y = 3 : ค่า - > 9
x = 5 y = 8 : ค่า - > 8
x = 4 y = 4 : ค่า - > ค่าเท่ากัน
ฟังก์ชันที่ทำงานอาจเดียว แต่ไม่จำเป็นต้องส่งออกค่า มักจะส่งออก TRUE หรือ FALSE เพื่อระบุความสำเร็จหรือล้มเหลว ค่า TRUE หรือ FALSE สามารถได้รับการแสดงแทนด้วย 1 หรือ 0

Recursion

recursion ได้รับการสนับสนุนใน PHP ฟังก์ชันชนิดนี้เป็นการเรียกตัวเองและเป็นประโยชน์กับการบังคับโครงสร้างข้อมูลไดนามิคส์ เช่น รายการเชื่อมโยงและโครงสร้างต้นไม้ (tree)
โปรแกรมประยุกต์เว็บจำนวนไม่มากต้องการโครงสร้างข้อมูลซับซ้อนมากและจำกัดการใช้ เนื่องจาก recursion ช้ากว่าและใช้หน่วยความจำมากกว่าการทำงานวนรอบ ดังนั้นควรเลือกการทำงานแบบวนรอบปกติ ถ้าเป็นไปได้
ตัวอย่างการประยุกต์แบบย้อนกลับตัวอักษร
<?php
function word_reverse_r($str)
{
if (strlen($str)>0)
    word_reverse_r(substr($str, 1));
echo substr($str, 0, 1);
return;
}
function word_reverse_i($str)
{
for ($i=1; $i<=strlen($str); $i++)
{
echo substr($str, -$i, 1);
}
return;
}
?>
รายการคำสั่งของ 2 ฟังก์ชันนี้จะพิมพ์ข้อความย้อนกลับ ฟังก์ชัน word_reverse_r เป็น recursion ฟังก์ชัน word_reverse_i เป็นการวนรอบ
ฟังก์ชัน word_reverse_r ใช้ข้อความเป็นพารามิเตอร์ เมื่อมีการเรียกฟังก์ชันนี้ จะเกิดการเรียกตัวเองแต่ละครั้งส่งผ่านตัวอักษรที่ 2 ไปถึงตัวอักษรสุดท้าย
การเรียกฟังก์ชันแต่ละครั้งจะทำสำเนาใหม่ของคำสั่งในหน่วยความจำของแม่ข่าย แต่ด้วยพารามิเตอร์ต่างกัน ดังนั้นจึงเหมือนกับการเรียกคนละฟังก์ชัน

วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การสร้างฐานข้อมูล

Microsoft Office Access 2007 ประกอบด้วยการปรับปรุงจำนวนมากที่ทำให้กระบวนการสร้างฐานข้อมูลใหม่ง่ายยิ่งขึ้น ถ้าคุณเคยสร้างฐานข้อมูลมาก่อน คุณจะพอใจกับคุณลักษณะเหล่านี้ที่สามารถทำให้กระบวนการสร้างฐานข้อมูลเร็วยิ่งขึ้น
บทความนี้ครอบคลุมขั้นตอนพื้นฐานในการเริ่มต้นใช้งาน Office Access 2007 และการสร้างฐานข้อมูลไม่ว่าจะสร้างจากแม่แบบหรือสร้างขึ้นเองตั้งแต่ต้น นอกจากนี้ยังให้รายละเอียดเกี่ยวกับเทคนิคบางประการเพื่อนำข้อมูลมาใส่ในฐานข้อมูลใหม่ของคุณ
ถ้าคุณไม่พบแม่แบบที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณในบานหน้าต่าง การเริ่มต้นใช้งาน Microsoft Office Access และคุณได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตอยู่ คุณสามารถค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ Office Online

ในบานหน้าต่าง การเริ่มต้นใช้งาน Microsoft Office Access ภายใต้ ข้อมูล

เพิ่มเติมบน Office Online ให้คลิก แม่แบบ
 หมายเหตุ   หน้าแรกของแม่แบบบน Office Online จะปรากฏในหน้าต่างเบราว์เซอร์

ใช้เครื่องมือนำทางและค้นหา Office Online เพื่อหาแม่แบบ Access ที่คุณ

ต้องการใช้แล้วทำตามคำสั่งเพื่อดาวน์โหลด ฐานข้อมูลจะถูกดาวน์โหลดลง

ในคอมพิวเตอร์ของคุณ จากนั้นเปิดในอินสแตนซ์ใหม่ของ Access ในกรณี

ส่วนใหญ่แม่แบบจะถูกออกแบบมาเพื่อเปิดฟอร์มป้อนข้อมูลเพื่อที่คุณจะได้

เริ่มป้อนข้อมูลได้ทันที
ถ้าคุณไม่สนใจใช้แม่แบบ คุณสามารถสร้างฐานข้อมูลจากตั้งแต่ต้น ในกรณีส่วนใหญ่ การทำเช่นนั้นเกี่ยวข้องกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือทั้งสองสิ่งต่อไปนี้
การป้อน การวาง หรือการนำเข้าข้อมูลลงในตารางที่ถูกสร้างเมื่อคุณเริ่มต้นฐานข้อมูลใหม่ จากนั้นทำซ้ำกระบวนการนี้กับตารางใหม่ที่คุณสร้างด้วยการใช้คำสั่ง แทรกตาราง
การนำเข้าข้อมูลจากแหล่งอื่นและการสร้างตารางใหม่ในกระบวนการ




ตัวอย่างฐานข้อมูล

1. ฐานข้อมูลในโรงเรียน จะเป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียน ครู ภารโรง พัสดุ    สิ่งของ ฯลฯ อาจบันทึกข้อมูลลงกระดาษ แบบฟอร์มหรือจัดเก็บลงคอมพิวเตอร์ เมื่อมีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็น ระเบียบ การค้นหาก็ทำได้ง่าย
2. ฐานข้อมูลของร้านค้า เมื่อมีการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและลูกค้าอย่างเป็นระบบดีแล้ว การ จัดการก็ง่าย สินค้ามีกี่รายการ ต้นทุน กำไรเท่าไร ก็ดูได้ทันที ในโลกธุรกิจ การมีข้อมูลจำนวนมากและมี การจัดการที่ดี มีผลต่อความได้เปรียบในการทำธุรกิจและการประสบความสำเร็จ
3. ฐานข้อมูลบัญชีครัวเรือน จะเป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับรายรับ-รายจ่ายในการใช้เงินในแต่ละวันของครัวเรือน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ อาจบันทึกข้อมูลลงกระดาษ แบบฟอร์มหรือจัดเก็บลงคอมพิวเตอร์ เมื่อมีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็น ระเบียบ การค้นหาก็ทำได้ง่าย
4. ฐานข้อมูลสมาชิกสหกรณ์ จะเป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเงินที่ได้รับจากการออมเงินของสมาชิกในแต่ละวัน และจะมีการบันทึกอย่างต่อเนื่อง หากมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสหกรณ์ก็จะมีการลงบันทึกไว้และมีการเก็บใบเสร็จไว้เป็นหลักฐาน ฯลฯ อาจบันทึกข้อมูลลงกระดาษ แบบฟอร์มหรือจัดเก็บลงคอมพิวเตอร์ เมื่อมีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็น ระเบียบ การค้นหาก็ทำได้ง่าย
5. ฐานข้อมูลระบบห้องสมุด ยืม-คืน จะเป็นการจัดการเกี่ยวกับการยืม-คืนหนังสือ ให้ง่ายต่อการค้นหา จะมีข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมุลหนังสือ ข้อมูลการยืม ข้อมูลการคืน รหัสและประเภทหนังสือ ฯลฯ ทำให้ค้นหาได้ง่ายขึ้น




ประโยชน์ของระบบฐานข้อมูล

ในปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่หันมาให้ความสนใจกับระบบฐานข้อมูลกันมาก เนื่องจากระบบฐานข้อมูลมีประโยชน์ดังต่อไปนี้

1.ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
เนื่องจากการใช้งานระบบฐานข้อมูลนั้นต้องมีการออกแบบฐานข้อมูลเพื่อให้มีความซ้ำซ้อนของข้อมูลน้อยที่สุด จุดประสงค์หลักของการออกแบบฐานข้อมูลเพื่อการลดความซ้ำซ้อน

2.รักษาความถูกต้องของข้อมูล
เนื่องจากระบบจัดการฐานข้อมูลสามารถตรวจสอบกฎบังคับความถูกต้องของข้อมูลให้ได้ โดยนำกฎเหล่านั้นมาไว้ที่ฐานข้อมูล ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของระบบจัดการฐานข้อมูลที่จะจัดการเรื่องความถูกต้องของข้อมูลให้แทน แต่ถ้าเป็นระบบแฟ้มข้อมูลผู้พัฒนาโปรแกรมต้องเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมกฎระเบียบต่างๆ

3. มีความเป็นอิสระของข้อมูล
เนื่องจากมีแนวคิดที่ว่าทำอย่างไรให้โปรแกรมเป็นอิสระจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูล ในปัจจุบันนี้ถ้าไม่ใช้ระบบฐานข้อมูลการแก้ไขโครงสร้างข้อมูลจะกระทบถึงโปรแกรมด้วย

4. มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง
ถ้าหากทุกคนสามารถเรียกดูและเปลี่ยนแปลงข้อมูลในฐานข้อมูลทั้งหมดได้ อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลได้ และข้อมูลบางส่วนอาจเป็นข้อมูลที่ไม่อาจเปิดเผยได้หรือเป็นข้อมูลเฉพาะของผู้บริหาร หากไม่มีการจัดการด้านความปลอดภัยของข้อมูล ฐานข้อมูลก็จะไม่สามารถใช้เก็บข้อมูลบางส่วนได้
ระบบฐานข้อมูลส่วนใหญ่จะมีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ดังนี้
มีรหัสผู้ใช้ (user) และรหัสผ่าน (password)
ในระบบฐานข้อมูล (DBA) สามารถใช้วิว (view) เพื่อประโยชน์ในการรักษา
ความ ปลอดภัยของข้อมูลได้เป็นอย่างดี โดยการสร้างวิวที่เสมือนเป็นตาราของผู้ใช้จริงๆ
ระบบฐานข้อมูลจะไม่ยอมให้โปรแกรมใดๆ เข้าถึงข้อมูลในระดับกายภาพ 
(physical) โดยไม่ผ่านระบบการจัดการฐานข้อมูล
มีการเข้ารหัสและถอดรหัส (encryption/decryption) เพื่อปกปิดข้อมูลแก่ผู้
ที่ไม่เกี่ยวข้อง เช่น มีการเข้ารหัสข้อมูลรหัสผ่าน

5. ใช้ข้อมูลร่วมกันโดยมีการควบคุมจากศูนย์กลาง

มีการควบคุมการใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลจากศูนย์กลาง ระบบฐานข้อมูล

สามารถรองรับการทำงานของผู้ใช้หลายคนได้ กล่าวคือระบบฐานข้อมูลจะ

ต้องควบคุมลำดับการทำงานให้เป็นไปอย่างถูกต้อง


ความหมายของฐานข้อมูล

ฐานข้อมูล หมายถึง แหล่งที่ใช้สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปแฟ้มข้อมูลมารวมไว้ที่เดียวกัน รวมทั้งต้องมีส่วนของพจนานุกรมข้อมูล (data dictionary) เก็บคำอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างของฐานข้อมูล และเนื่องจากข้อมูลที่จัดเก็บนั้นต้องมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันทำให้สามารถสืบค้น (retrieval) แก้ไข (modified) ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ข้อมูล (update) และจัดเรียง (sort) ได้สะดวกขึ้นโดยในการกระทำการดังที่กล่าวมาแล้ว ต้องอาศัยซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับจัดการฐานข้อมูล
    ระบบฐานข้อมูล หมายถึง ระบบการรวบรวมแฟ้มข้อมูลหลายๆ แฟ้มข้อมูลเข้าด้วยกัน โดยขจัดความซ้ำซ้อนของข้อมูลออก แล้วเก็บข้อมูลไว้ที่ศูนย์กลาง เพื่อการใช้งานร่วมกันในองค์กร ภายในระบบต้องมีส่วนที่เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมโยงและใช้งานข้อมูลในฐานข้อมูล (database) และจะต้องมีการดูแลรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเหล่านั้น มีการกำหนดสิทธิของผู้ใช้งานแต่ละคนให้แตกต่างกัน ตามแต่ความต้องการในการใช้งาน    จากความหมายที่กล่าวมาข้างต้น ระบบฐานข้อมูลจะประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลจำนวนหลายๆ แฟ้มดังตัวอย่างในรูป แฟ้มข้อมูลเหล่านี้ต้องมีการจัดระบบแฟ้มไว้อย่างดี กล่าวคือ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลเดียวกันต้องไม่มีการซ้ำซ้อนกัน แต่ระหว่างแฟ้มข้อมูลอาจมีการซ้ำซ้อนกันได้บ้าง และต้องเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูล และค้นหาได้ง่าย นอกจากนี้ยังสามารถ เพิ่มเติม หรือลบออกได้โดยไม่ทำให้ข้อมูลอื่นเสียหาย